เห็ดหลินจือ สรรพคุณเป็นยาอายุวัฒนะทำให้ผู้บริโภคมี อายุยืน ในฟาร์มาโคเปียจีน (Chinese Pharmacopoeia) ใช้เป็นยาบำรุงร่างกาย, เกี่ยวกับระบบประสาท, หลอดลมอักเสบเรื้อรัง, ร่างกายอ่อนแอ, หอบ, นอนไม่หลับ, แก้ไอ, โรคหัวใจ, ระบบย่อยอาหารไม่ดี ตับอักเสบเฉียบพลัน
ฤทธิ์ต้านมะเร็งของเห็ดหลินจือ
ญี่ปุ่นศึกษาพบว่า สารสกัดด้วยน้ำของเห็ดหลินจือมีผลทำให้หนูที่ทำให้เป็นมะเร็งมีอายุยาวขึ้น แต่การทดลองในหลอดทดลองสารสกัดเห็ดหลินจือด้วยน้ำไม่มีผลต่อเซลล์ และสารที่ออกฤทธิ์เป็นพวก polysaccharide และยังพบว่า สามารถลดพิษของยาพวกที่เป็นพิษต่อเซลล์ (cytotoxic) ด้วย สรุปว่า เห็ดหลินจือมีผลช่วยชะลออาการของมะเร็งและยืดอายุผู้ป่วยได้
มีรายงานว่ามีผู้แพ้สปอร์เห็ดหลินจือ จึงต้องระมัดระวังเรื่องการแพ้ของคนบางคนด้วย ขนาดใช้ ทำเป็นยาเม็ดให้ครั้งละ 3 เม็ด หรือทำเป็นผงให้ครั้งละ 2-4 กรัม หรือใช้เห็ดหลินจือแห้ง 10 กรัม ฝานให้เป็นชิ้นบางๆ ต้มกับน้ำ 2 ลิตร ต้มเคี่ยวจนเหลือ 1 ลิตร แล้วเอาชิ้นส่วนเห็ดออกแล้วต้มให้งวดเหลือครึ่งลิตร ดื่มตลอดวัน
มีผู้ศึกษาสารเคมีในเห็ดหลินจือมากมาย แต่ที่สำคัญและพบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาพอจะแบ่งเป็นกลุ่มต่างได้ดังนี้ คือ
กลุ่ม polysaccharide ซึ่งมีผู้พบ polysaccharide A, B, C, D, E, G, H Polysaccharide BN-3-A, B, C และ polysaccharide อื่นๆ ซึ่งสารในกลุ่มนี้จะมีฤทธิ์สำคัญในการต้านมะเร็ง และกระตุ้นภูมิต้านทาน ลดการอักเสบ และป้องกันอันตรายจากการฉายรังสี
กลุ่ม steroids ในกลุ่มนี้จะเป็นอนุพันธุ์กลุ่ม homolanosteroid carboxyacetyl quercinic acid ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งมะเร็ง และ ganodersterone ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของตับ
ส่วนที่ดีและให้ประโยชน์สูงสุด เพราะอุดมไปด้วยสาระสำคัญในปริมาณที่เข้มข้นกว่าส่วนอื่นของเห็ดมากถึง 20 เท่าสารสำคัญใน “สปอร์เห็ดหลินจือ” ที่มีฤทธิ์ยับยั้ง จัดการเซลล์มะเร็งได้ มีดังนี้
1. สารโพลีแซคคาไรด์ (Polysaccharides) มีฤทธิ์เพิ่มภูมิคุ้มกันร่างกายให้แข็งแรง ช่วยกระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาวในการกำจัดสิ่งแปลกปลอม ทำให้เซลล์มะเร็งฝ่อและยับยั้งเซลล์มะเร็งไม่ให้เจริญเติบโต หรือแพร่กระจายต่อไปได้รวมถึงช่วยลดการอักเสบและลดน้ำตาลในเลือด
2. สารไตรเทอร์พีน (Triterpene) พบมากในสปอร์เห็ดหลินจือที่กะเทาะผนังหุ้มแล้ว มีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งโดยไม่ส่งผลกระทบกับเซลล์ปกติ อีกทั้งช่วยป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือด และบรรเทาอาการของโรคต่างๆได้
3. สารประกอบเยอร์มาเนียม (Germanium) เป็นสารที่พบมากในกระเทียม โสม และเห็ดหลินจือ มีสรรพคุณช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด เพิ่มออกซิเจนในเลือด ยับยั้งเซลล์มะเร็งไม่ให้เติบโต หรือแพร่กระจายได้ อีกทั้งช่วยบำรุงหัวใจ บำรุงประสาทและบำรุงสมอง
4.สารอะดีโนซีน (Adenosine) มีฤทธิ์ช่วยกำจัดสารพิษและปรับสมดุลของเลือด เป็นกำลังเสริมให้ระบบต่างๆ สามารถต้านเซลล์มะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เห็ดหลินจือกับการยับยั้งเซลล์มะเร็ง แม้ว่าผลการศึกษาจะออกมาในเชิงบวก แต่แพทย์ด้านเคมีบำบัดติดเบรกว่าไม่ควรใช้ขณะรักษา กังขากันมานานกับ เห็ดหลินจือกับการยับยั้งเซลล์มะเร็ง แม้ว่าผลการศึกษาจะออกมาในเชิงบวก แต่แพทย์ด้านเคมีบำบัดติดเบรกว่าไม่ควรใช้ขณะรักษาด้วยยาเคมีบำบัด
เห็ดหลินจือมีสารสำคัญเป็นสารกลุ่มโพลีแซ็กคาไรด์ เป็นสารที่มีฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็ง
นพ. กล่าวอีกว่า สำหรับการใช้เห็ดหลินจือกับผู้ป่วยโรคมะเร็งในประเทศไทย เน้นด้านการส่งเสริมสุขภาพเป็นหลัก เช่น การใช้เห็ดหลินจือต้มดื่มแทนน้ำ ประชาชนสามารถทำได้เอง โดยวิธีต้มง่ายๆ ใช้ดอกเห็ดหลินจือฝานบางๆประมาณ 2-3 ชิ้น ต้มในน้ำเดือดนาน 10-15 นาที ใช้ดื่มแทนน้ำได้ตลอดเวลา ให้มีรสขมบ้างเล็กน้อย สรรพคุณช่วยให้สดชื่น เสริมภูมิต้านทาน ไม่เกิดอันตรายต่อสุขภาพ
เช่นเดียวกับยาสมุนไพรอื่นๆ ที่มีฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งและเพิ่มภูมิต้านทานโรค ยังไปลดทอนประสิทธิภาพของยาเคมี ทำให้การรักษาไม่ได้ผลเท่าที่ควรจะเป็น รวมทั้งสมุนไพรรางจืดที่มีสรรพคุณล้างพิษหรือของเสียตกค้างในร่างกาย แพทย์ไม่แนะนำให้ใช้กับผู้ป่วยมะเร็งที่อยู่ระหว่างการรักษา
งานวิจัยทั่วโลกยอมรับ สรรพคุณเห็ดหลินจือรักษามะเร็ง
ประเทศสหรัฐอเมริกา ในเมืองซานฟรานซิสโก พบว่าสารสกัดจากเห็ดหลินจือมีฤทธิ์ช่วยกระตุ้นการทำงานของสารไคโตไซน์ และเม็ดเลือดขาวให้ทำหน้าที่สร้างภูมิคุ้มกันโรค และมีผลช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็งได้ คณะแพทย์จึงใช้เห็ดหลินจือควบคู่การใช้ยาตัวอื่นๆ ในการรักษาโรคมะเร็งในกระดูก
ประเทศใต้หวัน ทดลองใช้เห็ดหลินจือรักษาหนูที่เป็นมะเร็ง พบว่าหนูที่ฉายรังสีและใช้เห็ดหลินจือรักษาร่วมด้วย จะมีน้ำหนักตัวที่เป็นปกติ มีภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่าหนูที่รักษาด้วยการฉายรังสีอย่างเดียว
ประเทศญี่ปุ่น ทดลองนำ “น้ำต้มเห็ดหลินจือ” ฉีดในตัวหนูทดลองที่เป็นมะเร็ง พบว่า “เห็ดหลินจือ” ช่วยยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งได้มากถึง 95-98 เปอร์เซ็นต์ อีกทั้งพบว่าการใช้เห็ดหลินจือควบคู่การรักษาเคมีบำบัด สามารถยับยั้งเซลล์มะเร็งได้ดีกว่าการทำเคมีบำบัดอย่างเดียว
ประเทศจีน ในมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ปักกิ่งทดลองใช้เห็ดหลินจือกับหนูที่เป็นมะเร็งตับ เป็นระยะเวลาเพียง 10 วัน ผลปรากฏว่า “เห็ดหลินจือ” ช่วยต่อต้านเซลล์มะเร็งได้ประมาณ 95-98 เปอร์เซ็นต์ซึ่งใกล้เคียงกับผลการทดลองในประเทศญี่ปุ่น
กรณีศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการรับประทานสปอร์เห็ดหลินจือที่ไม่กะเทาะผนังหุ้ม ร่างกายคนไม่สามารถย่อยผนังหุ้มได้ ทำให้จึงยังคงพบสปอร์ในอุจจาระ ฉะนั้นการรับประทานสปอร์เห็ดหลินจือจึงต้องทำการกะเทาะผนังหุ้มก่อน เพื่อให้สารสำคัญถูกสกัดออกจากสปอร์และดูดซึมเข้าร่างกายได้ ซึ่งจะมีคุณค่าทางยาตามรายงานการวิจัยทางคลินิกหรือพรีคลินิก
วิธีรับประทานเห็ดหลินจือป้องกันโรค
1. ดอกเห็ดหลินจือฝานบาง ๆ ประมาณ 2-3 ชิ้น
2. ต้มในน้ำเดือดนาน 10-15 นาที
3. ใช้ดื่มแทนน้ำได้ตลอดเวลา จะช่วยให้สดชื่น เสริมภูมิต้านทาน และไม่เกิดอันตรายต่อสุขภาพ แต่ช่วงเวลาที่ร่างกายจะสามารถดูดซับสารจากเห็ดหลินจือได้ดีที่สุดนั้น ก็คือช่วงเวลาที่ท้องว่าง โดยแนะนำให้ดื่มในช่วงตื่นนอนในตอนเช้า หรือก่อนเข้านอน 1 ชั่วโมง
เห็ดหลินจือ มีผลข้างเคียงไหม?
แม้มีงานวิจัยพบว่า การทานเห็ดหลินจือไม่มีผลข้างเคียงและไม่มีสารตกค้างที่ตับหรือไต แต่ในบางคนอาจมีอาการแพ้เห็ดได้ สังเกตได้จากเมื่อทานเข้าไปแล้วมีอาการปากแห้ง คอแห้ง และอาจมีอาการคัน ผื่นขึ้น เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ ปวดท้อง เลือดกำเดาไหล หากมีอาการเช่นนี้ไม่ควรทานเห็ดหลินจืออีก
เห็ดหลินจือ กับข้อควรระวัง ใครไม่ควรทาน
ยังมีคนบางกลุ่มที่ไม่ควรทานเห็ดหลินจือเลย เพราะอาจทำให้อาการป่วยที่เป็นอยู่รุนแรงกว่าเดิม เช่น
1. สตรีมีครรภ์และแม่ที่ให้นมบุตร เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลที่น่าเชื่อถือเพียงพอมายืนยันว่า เห็ดหลินจือมีความปลอดภัยต่อสตรีมีครรภ์หรือคุณแม่ที่ให้นมบุตร ดังนั้นเลี่ยงการทานเห็ดหลินจือในช่วงนี้ไปก่อนจะปลอดภัยกว่า
2. คนที่มีความดันโลหิตต่ำ เพราะเห็ดหลินจือมีฤทธิ์ลดความดัน หากผู้ป่วยความดันโลหิตต่ำทานเข้าไป จะทำให้ความดันยิ่งต่ำลงจนเป็นอันตรายได้
3. ผู้ที่มีภาวะเลือดออกผิดปกติ (Bleeding disorder) หรือผู้ที่มีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ (Thrombocytopenia) เพราะการทานเห็ดหลินจือในปริมาณมากเกินไปอาจทำให้เลือดออกมากขึ้น
4. ผู้ป่วยที่กำลังจะผ่าตัด เพราะเห็ดหลินจือจะเพิ่มความเสี่ยงอาการเลือดออกมากขึ้น ดังนั้นก่อนการผ่าตัดอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ไม่ควรทานเห็ดหลินจือ
5. ผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิต้านเนื้อเยื่อของตนเอง (Autoimmune Disease) เช่น โรคลูปัส หรือ เอสแอลอี (SLE) หรือ โรคพุ่มพวง ไม่ควรใช้เห็ดหลินจือ โดย นพ.บรรเจิด ตันติวิท ผู้เขียนหนังสือ "หลินจือ กับ ข้าพเจ้า" ระบุว่า นั่นเพราะเห็ดหลินจือจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ซึ่งภูมิคุ้มกันที่ถูกทำให้แข็งแรงขึ้นนี้จะยิ่งก่อให้เกิดความผิดปกติต่อร่างกายมากขึ้น
6. ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยากดภูมิคุ้มกัน ไม่ควรทานเห็ดหลินจือ เพราะมีแนวโน้มที่ผลจากเห็ดหลินจือจะเข้าไปลบล้างหรือขัดขวางการบำบัดด้วยยากดภูมิ
นอกจากนี้ผู้ที่รับประทานยาบางชนิด เช่น แอสไพริน, ยาลดการอักเสบ NSAID, ยาต้านการแข็งตัวของเลือด Warfarin และ Heparin ควรปรึกษาแพทย์ก่อน เพราะเห็ดหลินจืออาจส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของยาและอาการที่ป่วยอยู่
Comments