

ขมิ้นชันหรือขมิ้น เป็นพืชที่มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เนื้อของเหง้ามีสีเหลืองเข้มไปจนถึงสีแสด เอกลักษณ์ที่เด่นชัด คือ รสชาติที่จัดจ้าน สีสันมีความสวยงาม อีกทั้งยังได้มีการนำเอาสมุนไพรมาประยุกต์ผสมผสานลงไปในอาหารไทย ทำให้ได้รสชาติที่ดูแตกต่างแต่ลงตัว เมื่อพูดถึงเรื่อง สมุนไพร ที่คนไทยนิยมนำมาทำอาหาร เราคงจะพลาดที่จะเอ่ยถึง ขมิ้นชัน ไม่ได้ เพราะว่าเป็นอีกหนึ่งวัตถุดิบที่ทำให้อาหารมีสีสันสะดุดตา ตลอดจนมีสรรพคุณทางยาที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายเพิ่มพูนเป็นลำดับถัดมาจากความอร่อย
มีผลงานวิจัยเกี่ยวกับฤทธิ์ของขมิ้นชันต่อปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับโรคมะเร็ง ที่ได้รับการตีพิมพ์และเผยแพร่ ทั้งในประเทศสหรัฐอเมริกาและในประเทศไทย อาทิ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูง ฤทธิ์ในการยับยั้งการแบ่งเซลล์ เช่น การทดลองในระดับเซลล์ โดยใช้เซลล์มะเร็งเต้านม เซลล์มะเร็งที่หลอดลม/คอหอย พบว่า สารเคอร์คิวมินอยด์ สามารถยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งได้ โดยลดปัจจัยที่ทำให้เกิดการแบ่งเซลล์ ฤทธิ์ยับยั้งเนื้องอก ฤทธิ์ที่กระตุ้นให้เซลล์ตายแบบ apoptosis ซึ่งจะส่งผลให้เซลล์มะเร็งตายอย่างมีแบบแผน อันจะเป็นการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์ได้ ฤทธิ์ยับยั้งมะเร็ง การยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์
ขมิ้น มีศักยภาพดังกล่าว เนื่องจากมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ ต้านการเกิดมะเร็ง ทำให้ภูมิคุ้มกันทำงานได้อย่างเป็นปกติ ป้องกันการแพร่กระจายของมะเร็ง ทำให้เซลล์มะเร็งตายและป้องกันการตายของเซลล์ปกติ
นอกจากจะมีคุณสมบัติในการป้องกันกระบวนการเกิดมะเร็งแล้ว นอกจากนี้ ขมิ้นชันยังมีฤทธิ์ลดการแบ่งตัว ยับยั้งการเติบโต ยับยั้งการแพร่กระจาย ของเซลล์มะเร็งในหลอดทดลองได้อย่างมีประสิทธิภาพในเซลล์มะเร็งหลายๆ ชนิด ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งลำไส้ และมะเร็งตับอ่อน ที่สำคัญคือ ขมิ้นชันเป็นสมุนไพรที่มีการทดลองในคน เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งทวารหนัก มะเร็งตับอ่อน มะเร็งกระดูก
สาร “Curcumin” ซึ่งเป็นสารประกอบในเครื่องเทศและขมิ้น สามารถต่อต้านมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ ผู้ที่รับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของเครื่องเทศและขมิ้นเป็นประจำมีการเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่น้อยกว่ากลุ่มนักวิจัยยังพบว่าขมิ้นชันสามารถทำลายการเจริญเติบโตของเซลล์โรคมะเร็งในลำไส้ใหญ่ได้ถึง 60%อาหารบ้านเรานั้นก็มีหลายอย่างที่ประกอบไปด้วยขมิ้น เช่น คั่วกลิ้ง แกงเหลือง หรืออาหารจากทางภาคใต้ของเราอีกมากมาย ซึ่งเป็นเมนูอาหารไทย ที่มีรสชาติอร่อยจัดจ้านไม่แพ้ชาติใดในโลก ถ้ากินขมิ้นชันสดๆ ต้องปอกเปลือกก่อน แต่ถ้าทำขมิ้นบดเป็นผง ต้องนำขมิ้นมาต้มน้ำให้เดือดสักพักหนึ่ง เสร็จแล้วตักออกนำมาผึ่งให้เย็นหั่นเป็นแว่นเล็กๆ ตากแดดจนแห้ง อาจจะตากหลายครั้ง แล้วถึงจะนำมาบดให้เป็นผง ถ้าใช้เครื่องอบให้ขมิ้นแห้งความร้อนไม่ควรเกิน 65 องศาถ้าความร้อนเกินอาจเกิดสารสเตรอยด์ได้
ขมิ้นช่วยปราบมะเร็งลำไส้
นักวิจัยจะได้ทดลองใช้สารเคมีที่มีอยู่ในแกงกะหรี่เพื่อปราบโรคมะเร็งลำไส้ในคนไข้ สารนั้นได้แก่ ขมิ้น ซึ่งเป็นส่วนผสมของแกงกะหรี่อย่างหนึ่ง เคยถูกกล่าวขวัญว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายอย่าง ตลอดจนคนไข้โรคหลอดเลือดสมองและโรคสมองเสื่อมด้วย เคยพบในการศึกษาว่า มันสามารถฆ่าเซลล์มะเร็งในห้องปฏิบัติการทดลอง และบัดนี้ได้มีการทดลองอยู่ในโรงพยาบาลเมืองเลสเตอร์หลายแห่ง ศึกษาสรรพคุณของขมิ้นควบคู่กับยาเคมีบำบัดไปด้วย
งานวิจัยของมูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรระบุถึงการรับประทานขมิ้นชันให้ได้ประโยชน์สูงสุด เมื่อกินตามเวลาและตรงจุดตรงปัญหา ขมิ้นชันมีประโยชน์และสรรพคุณหลายประการ กินขมิ้นชันตามเวลาต่อไปนี้ จะได้ผลโดยตรงกับอวัยวะที่ต้องการ
วิธีกินขมิ้นชันให้ได้ผลดีและได้ประโยชน์
ในขมิ้นชันนั้นมีสารสำคัญชนิดหนึ่งที่เรียกว่า curcumin เป็นสารที่มีประโยชน์ช่วยลดการอักเสบและป้องกันการเกิดโรคมะเร็งต่างๆ แต่ว่าร่างกายมีความสามารถในการดูดซึมได้น้อยมาก การรับประทานขมิ้นให้ได้ผลดีจึงมักมีเคล็ดลับในการรับประทาน ดังนี้
1. เลือกขมิ้นที่อายุอย่างน้อย 9 เดือน เพราะขมิ้นชันอ่อนจะมีสาร curcuminในปริมาณน้อย
2. รับประทานร่วมกับมื้ออาหาร เช่นกับพริกไทยดำเพราะพริกไทยดำช่วยให้ร่างกายดูดซึม curcumin ได้ดีกว่าทานขมิ้นชันอย่างเดียวหลายเท่าตัว โดยควรทานระหว่างหรือหลังรับประทานอาหาร
3. เนื่องจากขมิ้นชัน (ผง) นั้นละลายได้ดีในไขมัน หากปรุงอาหารจากขมิ้นชันด้วยน้ำมันจะให้ร่างกายดูดซึมได้ดีกว่าเดิม
4. รับประทานตามนาฬิกาชีวิต มีการศึกษาพบว่า อวัยวะในร่างกายทำงานในช่วงเวลาต่างๆกัน การรับประทานขมิ้นชันตามเวลาที่อวัยวะนั้นทำงานจะได้ประโยชน์สูงสุด
ข้อควรระวังในการใช้ขมิ้นชัน
สำหรับในสตรีมีครรภ์ ขมิ้นชันอาจทำให้เกิดการแท้งได้ในระยะแรกๆ ของการตั้งครรภ์ แต่ไม่มีผลต่อการตกไข่ เพราะฉะนั้นจึงควรระวังในการใช้ขมิ้นชันกับหญิงมีครรภ์ โดยการใช้ขมิ้นชันในปริมาณมากๆ อาจเป็นอันตรายได้ นอกจากนี้ การใช้ขมิ้นชันเป็นเวลานานๆ สามารถทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ เช่น อาเจียน ถ่ายเป็นเลือด งุ่นง่าน หรือตื่นกลัว เป็นต้น
Comments