top of page
ค้นหา
  • รูปภาพนักเขียนThai herbs for cancer

กระเทียมกับมะเร็ง

อัปเดตเมื่อ 10 มิ.ย. 2561


สรรพคุณของกระเทียมกับการช่วยยับยั้งและลดความเสี่ยงของโรคมะเร็ง กระเทียมเป็นพืชตระกูลหัว นิยมนำมาปรุงอาหารเนื่องจากมีกลิ่นเฉพาะตัว กลิ่นฉุนของกระเทียมมีที่มาจากสารประกอบ ซัลเฟอร์ (sulphur) ที่มีชื่อว่า อลิซิน (allicin) ในกระเทียม นอกจากซัลเฟอร์แล้ว กระเทียมยังมีส่วนประกอบอื่นๆ เช่น กรดอมิโน- อาร์จีนีน (argenine) ฟลาโวนอยด์ (flavonoid) น้ำตาลโมเลกุลกลุ่ม (oligosaccharides) และซีลีเนียม (selenium) ซึ่งมี ประโยชน์ต่อสุขภาพ หัวกระเทียมเป็นเหมือนโรงงานเคมี เต็มไปด้วยสารที่เปลี่ยนแปลงเร็วมาก เนื่องจากฤทธิ์ไม่คงที่ ประโยชน์ต่อสุขภาพจึงขึ้นอยู่กับความสดของกระเทียมและการบดอัด สับ เคี้ยว หรือต้ม สารที่ว่าได้แก่สารประกอบกำมะถัน เช่น ไทโอซัลฟิเนต (thiosulfinate) ซึ่งทำให้เกิดกลิ่นกระเทียมและมีฤทธิ์ด้านอื่นๆ เมื่อไม่นานมานี้เพิ่งพบว่าสารเอสอัลลิลซิสเตอีน (S-allylcysteine) ช่วยปกป้องหัวใจ








ส่วนประกอบสำคัญ คือ (alliin) เมื่อกระเทียมถูกบีบอัด ทุบ หรือเคี้ยว อัลลิซินจะเปลี่ยนเป็น (allicin) ซึ่งไม่ทนต่อความร้อนและกรดในกระเพาะอาหาร แต่ถ้าเคี้ยวกระเทียมสด อัลลิซิน (และฤทธิ์ทางยา) จะซึมผ่านปากเข้าสู่ร่างกายอย่างรวดเร็ว กระเทียมมีฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย จุลชีพ เชื้อรา ต่อต้านมะเร็งและอนุมูลอิสระ เมื่อรวมกับประโยชน์อื่นๆ ทำให้กระเทียมเป็นยาประจำบ้านที่สำคัญในการรักษาอาการบาดเจ็บ เชื้อราที่เท้า

Allium sativum Linn.Garlic Alliaceae

สถาบันวิจัยมะเร็ง ประเทศสหรัฐอเมริกา พบความสัมพันธ์ระหว่างการลดอัตราการเกิดมะเร็งในทางเดินอาหารกับอาหารซึ่งมีกระเทียม หอม และหอมหัวใหญ่ พบว่าในจำนวนผู้ที่ทำการศึกษา 1,695 คน มี 564 คนเป็นมะเร็งในกระเพาะอาหาร และในจำนวนผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหารเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นพวกที่รับประทานกระเทียมน้อยหรือไม่รับประทานเลย และพบว่าชาวจีนที่ไม่รับประทานกระเทียมมีโอกาสเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารมากกว่าผู้ที่กินกระเทียมในปริมาณมากอยู่เสมอถึง 1,000 เท่า

นอกจากนี้ยังมีผู้พบว่า diallyl disulfide ลดการก่อให้เกิดมะเร็ง เนื่องจากสาร nitrosamine ซึ่งสารนี้มักจะได้มาจากอาหารที่มี nitrate สูง รวมทั้งผักบางชนิด สารจากกระเทียมจะไปยับยั้งการเปลี่ยนแปลงของ nitrosamine ไปเป็นสารซึ่งก่อมะเร็งอย่างรุนแรงได้ จึงเชื่อว่า diallyl disulfide น่าจะเป็นสารสำคัญที่ช่วยลดการเกิดมะเร็งในผู้ป่วยที่กินกระเทียมอยู่เสมอ

Wargovich และคณะ ได้รายงานฤทธิ์ในการรักษามะเร็งในทางเดินอาหารของ diallyl sulfide ซึ่งเป็นสารที่พบในกระเทียมโดยสามารถต้านพิษของ dimethylhydrazine และ N-methyl-N-nitroso-methylamine ที่ทำให้เกิดมะเร็ง

กระเทียมอาจเสริมให้ระบบภูมิต้านทานให้แข็งแรงขึ้น สามารถช่วยร่างกายให้ต่อสู้กับโรคมะเร็งได้ โดยผลจากห้องทดลองดูเหมือนว่า กระเทียมมีฤทธิ์ในการต่อต้านมะเร็ง

ผลจากการศึกษาในกลุ่มชนเป็นระยะเวลานาน พบว่า กลุ่มคนที่รับประทานกระเทียมสด หรือกระเทียมที่ปรุงในอาหาร ทำให้มีแนวโน้มที่จะไม่เกิดเป็นมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งของลำไส้ใหญ่ (colon) และมะเร็งกระเพาะ (CA stomach) ผลจากการศึกษา (จำนวน 7 ชิ้น) พบว่า คนที่กินกระเทียมสด หรือกระเทียมปรุงแล้ว สามารถลดการเกิดมะเร็งในลำไส้ใหญ่และทวารหนักได้ถึง 30% การกินอาหารที่มีกระเทียมเยอะๆ ช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งต่อมลูกหมากและมะเร็งชนิดอื่นๆ

ปกป้องหัวใจ ต้านมะร็ง

ถ้ากินกระเทียมทุกวันจะลดความเสียงต่อโรคหัวใจได้ถึงร้อยละ 76 เพราะมีสรรพคุณลดระดับคอเลสเตอรอล (บางงานวิจัยระบุว่าลดได้ร้อยละ 5-10) และลดความหนืดของเลือดจึงยับยั้งการเกิดลิ่มเลือดที่เป็นตัวอันตราย นอกจากนี้ยังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ สารประกอบกำมะถันในกระเทียมยังป้องกันมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งกระเพาะอาหารและมะเร็ง

ลำใส้ใหญ่ สารประกอบนี้จะขับสารก่อมะเร็งออกไปก่อนที่มันจะทำลายดีเอ็นเอ และยังทำให้เซลล์มะเร็งที่กำลังก่อตัวทำลายตัวเองด้วย

การเลือกซื้อกระเทียม

ควรเลือกหัวกระเทียมที่ผิวตึงเรียบ กลีบเต็ม ไม่ฟีบ ถ้าเก็บไว้ในที่เย็น อากาศถ่ายเท จะเก็บได้ 2 เดือน อย่าเก็บในตู้เย็น ถ้ามีต้นอ่อนงอกยังใช้หัวนั้นได้แต่กลินจะลดลง สับต้นอ่อนรวมไปกับกระเทียมได้เลยผลจากการศึกษา (จำนวน 7 ชิ้น) พบว่า คนที่กินกระเทียมสด หรือกระเทียมปรุงแล้ว สามารถลดการเกิดมะเร็งในลำไส้ใหญ่และทวารหนักได้ถึง 30%

สิ่งที่ต้องระวังสำหรับกระเทียม

แม้ว่ากระเทียมจะเป็นพืชที่มีสรรพคุณอยู่มากมาย แต่กระเทียมผลอันไม่พึงประสงค์ของกระเทียมอยู่มากเหมือนกัน เช่น ทำให้ปวดท้อง ท้องอืดเฟ้อ มีกลิ่นปาก ออกแสบร้อนที่มือ (เมื่อสัมผัสถูก)


นอกเหนือไปจากนั้น กระเทียมยังทำให้เกิดมีอาการวิงเวียน ปวดศีรษะ เหนื่อยหล้า ปวดเมื่อกล้ามเนื้อ และอาจแพ้กระเทียม ทำให้เกิดมีลักษณะหืดหอบ และเป็นผื่นคัน

ดู 321 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด

Comments


bottom of page